1. เพื่อให้มีความเข้าใจกับรหัส การแบ่งกลุ่ม ชั้นคุณภาพของโลหะกลุ่มเหล็ก และนอกกลุ่มเหล็ก ตามมาตรฐาน AISI ASTM DIN JIS
2. เพื่อให้มีความเข้าใจหลักการ การแบ่งชั้นคุณภาพของลวดเชื่อมเหล็กกล้าคาร์บอน และเหล็กกล้าผสมต่ำ ลวดเชื่อมเหล็กหล่อ ลวดเชื่อมอะลูมิเนียมและอะลูมิเนียมผสม ที่ใช้ในกระบวนการเชื่อมอาร์กลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (SMAW) การเชื่อมแบบอาร์คแก๊สคลุม การเชื่อมใต้ฟลักซ์ (SAW) ตามมาตรฐาน AWS และ DIN
3. เพื่อให้มีความเข้าใจเกี่ยวกับการแบ่งชนิดและการเลือกใช้แก๊สเฉื่อย (Inert gas) แอคทีพแก๊ส (Active Gas) และแก๊สผสม (Mixes Gas) ในงานเชื่อมแบบอาร์กแก๊สคลุม แผ่นรองหลังงานเชื่อมโลหะ ชนิดและสมบัติของกาว ในอุตสาหกรรม
4. เพื่อให้สามารถทดสอบหาสมบัติเชิงกลของวัสดุ และลวดเชื่อมด้วยวิธีการทดสอบแรงดึงและการทดสอบแรงกระแทก
5. เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบประสิทธิภาพการเติมลวดของกระบวนการเชื่อมแบบต่าง ๆ
ศึกษาเกี่ยวกับชนิดและสมบัติของโลหะกลุ่มเหล็ก (Ferrous Metal) โลหะนอกกลุ่มเหล็ก (Non Ferrous Metal) ลวดเชื่อมและฟลักซ์ แก๊สคลุม (Gas Shielded) แผ่นรองหลังงานเชื่อม (Back Strip) กาว (Adhesive Bonding) ปฏิบัติการทดสอบหาสมบัติเชิงกลของวัสดุและลวดเชื่อม ด้วยวิธีการทดสอบแรงดึงและการทดสอบแรงกระแทก เปรียบเทียบประสิทธิภาพการเติมลวด ของกระบวนการเชื่อมแบบต่างๆ
- Teacher: นายสิทธิศักดิ์ ทันใจ
ลักษณะรายวิชา
รหัสและชื่อวิชา 2103-2112 คณิตศาสตร์ช่างเชื่อม 2 (2) (Welding Mathematics)
สภาพรายวิชา -
ระดับรายวิชา ภาคเรียนที่ 2 ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ
พื้นฐาน -
จุดมุ่งหมายรายวิชา 1. เพื่อให้มีความเข้าใจในระบบหน่วยที่ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ช่างเชื่อม
2. เพื่อให้สามารถคำนวณหาความยาว พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนักของวัสดุ
รูปทรงต่างๆ
3. เพื่อให้สามารถประมาณราคา ความสิ้นเปลืองของวัสดุในงานเชื่อม
4. เพื่อให้สามารถคำนวณระบบส่งกำลังทางกล เครื่องผ่อนแรง
5. เพื่อให้สามารถคำนวณหาค่าความแข็งแรงของวัสดุ ความดันของไหล
คำอธิบายรายวิชา ศึกษาเกี่ยวกับระบบหน่วยที่ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ช่างเชื่อม การคำนวณหา
ความยาว พื้นที่ ปริมาตร และน้ำหนักของวัสดุรูปทรงต่างๆ ความ
สิ้นเปลืองของวัสดุในงานเชื่อมแก๊ส พลังงานไฟฟ้า การประมาณราคา
ระบบส่งกำลังทางกล เครื่องผ่อนแรง ความแข็งแรงของวัสดุ ความดัน
ของไหล
- Teacher: นายสุริกานต์ เปรี่ยมไพบุลย์
3103-2001 เทคโนโลยีงานเชื่อม 1
จุดประสงค์รายวิชา
1. เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานเชื่อมเหล็กกล้าด้วยการเชื่อมแก๊ส ไฟฟ้า ทิก มิก/แม็ก
2. เพื่อให้สามารถตรวจสอบงานเชื่อมและวิเคราะห์ผลการเชื่อม
3. เพื่อให้มีกิจนิสัยการทำงานด้วยความปลอดภัย
มาตรฐานรายวิชา
1. เชื่อมแผ่นเหล็กกล้างานท่อเหล็กกล้างานหนาและบางรอยต่อต่างๆกระบวนการเชื่อมแก๊ส ไฟฟ้า ทิก มิก/แม็ก
2. เลือกลวดเชื่อมและเตรียมรอยต่อตามมาตรฐานตรวจสอบและวิเคราะห์ชิ้นงานเชื่อมงานตัดโลหะด้วยแก๊สและงานตัดพลาสม่า
คำอธิบายรายวิชา
ปฏิบัติการเชื่อมแผ่นเหล็กกล้า ท่อเหล็กกล้า งานหนาและบางรอยต่อร่อง รอยต่อฉากด้วยการเชื่อมแก๊ส อาร์คลวดหุ้มฟลักซ์ ทิก และมิกโดยเน้นการเตรียมรอย ชิ้นงาน การเลือกลวดเชื่อมประเภทต่างๆให้เหมาะสมกับงานการตรวจสอบชิ้นงานเชื่อมด้วยตาเปล่าทั้งภายนอกและภายในแนวเชื่อม การตัดโลหะด้วยแก๊สและงานตัดพลาสม่า วิเคราะห์ผลการตัด
- Teacher: นายพิธิพงศ์ ฤทธิ์มนตรี
ลักษณะรายวิชา
1.รหัสและชื่อวิชา 3103-2004 การออกแบบรอยต่องานเชื่อม
2. สภาพรายวิชา ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
3.ระดับรายวิชา ภาคเรียนที่ 2 ชั้นปีที่1
4. พื้นฐาน การเชื่อมชั้นสูง
5. เวลาศึกษา 36 คาบเรียนตลอด18 สัปดาห์ ทฤษฎี 2 คาบ
6. จำนวนหน่วยกิต 2 หน่วยกิต
7. จุดมุ่งหมายรายวิชา
1.เข้าใจสัญลักษณ์งานเชื่อม
2. เข้าใจการกำหนดสัญลักษณ์งานเชื่อมตามมาตรฐานสากล
3. เข้าใจพฤติกรรมการรับแรงและตัวแปรต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อแนวเชื่อม
4. เข้าใจการออกแบบรอยต่อสำหรับงานเชื่อมที่รับแรงสถิต
5. เข้าใจการต่อคานด้วยหมุดย้ำ
6. เข้าใจการเกิดและป้องกันการโก่งงอของคาน น้ำหนักและเสาค้ำยัน
7. เห็นคุณค่าการออกแบบรอยต่องานเชื่อม
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการออกแบบรอยต่องานเชื่อม ความหมายของสัญลักษณ์ในงานเชื่อมและวิธีการนำไปใช้งาน ชนิดลักษณะและการนำไปใช้งานของรอยต่องานเชื่อม อิทธิพลของลักษณะแนวเชื่อม รอยหรือบาก (notch) บนผิวเชื่อม และจุดบกพร่องภายในแนวเชื่อมต่อการกระจายความเค้นในแนวเชื่อม ความล้าของแนวเชื่อม หลักการและกฎการเชื่อมโครงสร้างที่รับแรงสถิต (Static) และแรงพลวัต (Dynamics) สภาพเชื่อมได้ (weld ability) ของงานโครงสร้างที่ประกอบด้วยชนิดของวัสดุ วิธีการสร้างค่าความปลอดภัยของงานเชื่อม โครงสร้างผลกระทบของการเชื่อมต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง การเชื่อมชิ้นส่วนขึ้นรูปร้อนพวก I – beam รีด การต่อคานด้วยหมุดย้ำการเกิดและการป้องกันการโก่งของคานน้ำหนักการต่อเสาค้ำยัน การเลือกเหล็กสำหรับเชื่อมโครงสร้าง
- Teacher: นายพิธิพงศ์ ฤทธิ์มนตรี