[x] ปิดหน้าต่างนี้
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป   
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Spanish Vietnamese Thai     
ค้นหา   
เมนูหลัก
แผนกวิชา
งานบัญชี GFMIS
งานทะเบียน
เฟสบุคงานทะเบียน
งานวัดผลและประเมินผล
เฟสบุคงานวัดผลและประเมินผล
สถานศึกษาใน อศจ.บุรีรัมย์
งานเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์
งานประกันคุณภาพ
'งานประกันคุณภาพ
นักเรียน นักศึกษา
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 377 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 1 คน
ศูนย์ดำรงธรรม
  

งานวิจัยในชั้นเรียน 2/2555
    เรื่อง : ศึกษารูปแบบในการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างไรในรายวิชา หลักเศรษฐศาสตร์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 1/1,1/2 แผนกวิชาการบัญชีและแผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ

เจ้าของผลงาน : นางจิราภรณ์ งามชื่น
จันทร์ ที่ 3 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2556
เข้าชม : 409    จำนวนการดาวน์โหลด : 189 ครั้ง
5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 1 ครั้ง.

บทคัดย่อ :

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบในการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างไรในรายวิชา หลักเศรษฐศาสตร์ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง 1/1,1/2  แผนกวิชาการบัญชีและแผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพสตึก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555  กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็น นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชาการบัญชีและแผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 60  คน ที่เรียนในรายวิชาหลักเศรษฐศาสตร์ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ  3  คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ผลการวิจัยพบว่า
           ผู้สอนควรจะได้มีการปรับรูปแบบในการสอนของตนเอง พร้อมทั้งแผนการเรียนการสอน ตลอดจนบทเรียนและสื่อการสอนอื่นๆ เพื่อให้มีความสอดคล้องกับรูปแบบในการเรียนของ       ผู้เรียนให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ข้อเสนอแนะนี้มีรากฐานมาจากงานวิจัยจำนวนหนึ่ง เช่น Cheng และ Banya (1998) และ Freeman และ Richards (1993) ที่บ่งชี้ว่า ความพยายามที่จะตอบสนองต่อสไตล์ในการเรียนของผู้เรียนด้วยการเลือกใช้สไตล์ในการสอนที่เหมาะสม วิธีการสอน และการวางแผนการเรียนการสอน จะสามารถทำให้ผู้เรียนมีทั้งความพึงพอใจและสัมฤทธิผลของการเรียนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ผู้สอนควรจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้สไตล์ในการเรียนแบบที่ผู้เรียนชื่นชอบหรือมีความถนัดให้มากที่สุด เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความพยายามที่จะเรียนให้ดีที่สุด ทั้งนี้ ก็เนื่องมาจากความเชื่อที่ว่า “ผู้เรียนจะเรียนได้ดีที่สุดเมื่อผู้เรียนได้ทำในสิ่งที่ต้องการจะทำ” (Nair-Venugopal, 1992, p. 67) ในกรณีนี้ เมื่อผลของการวิจัยแสดงให้เห็นว่า      ผู้เรียนมีสไตล์ในการเรียนแบบ การเรียนรู้โดยการปฏิบัติตนในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นรูปแบบสำคัญ ผู้สอนควรจะต้องพิจารณาว่าในการจัดการเรียนการสอนของตนนั้น ผู้เรียนได้มีโอกาสทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้จาก        ประสบการณ์จริง (experiential learning) หรือ การเรียนรู้ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรมอย่างสมบูรณ์ (total physical involvement in learning) ซึ่งถือเป็นการเรียนรู้แบบ ปฏิบัติตนในสถานการณ์ต่าง ๆ มากน้อยเพียงใดและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้รูปแบบในการเรียนรู้ที่ตนเองถนัดนี้ตามสมควร นอกจากนี้ การที่ผู้เรียนระบุว่าผู้เรียนชอบรูปแบบในการเรียนแบบกลุ่ม (Group Learning) ก็เป็นโอกาสอันดีที่ผู้สอนจะได้จัดกิจกรรมกลุ่มในการเรียนการสอนของตนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากการทำงานเป็นกลุ่มนั้นจะทำให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้องค์ความรู้ที่เป็นเป้าหมายในขอบเขตของการใช้งานที่กว้างขวางขึ้น ทั้งในด้านสังคมและด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล (social and interpersonal functions) (Pica, 1994) ซึ่งนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการความสำเร็จในการเรียนวิชาหลักเศรษฐศาสตร์



ดาวน์โหลด   ( บทคัดย่อ) 

งานวิจัยในชั้นเรียน 2/2555 5 อันดับล่าสุด

      การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการบันทึกรายการค้าในสมุดรายวันทั่วไป วิชาการบัญชีเบื้องต้น 1 ระดับ ปวส.1 กลุ่ม สบช.12 (ม.6) 26/มิ.ย./2556
      การพัฒนาพฤติกรรมการขาดความรับผิดชอบต่อการเข้าเรียนของนักศึกษา แผนกวิชาซ่อมบำรุงเครื่องจักรกล กลุ่ม ชบ. 31 3/มิ.ย./2556
      พฤติกรรมการเรียนรู้ด้านวินัยในห้องเรียนและแรงจูงใจในการเรียน ของวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2 ของนักศึกษาชั้น ปวช ชั้นปีที่ 1 ห้อง พณค. 11 3/มิ.ย./2556
      การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ห้องเรียนรู้เฉพาะทาง ในการพัฒนาการเรียนรู้รายวิชา ระบบส่งกำลังรถยนต์ ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 ห้อง ชย 21 3/มิ.ย./2556
      การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การพิมพ์หนังสือราชการ โดยใช้ชุดการสอนตามเอกัตภาพ รายวิชาการใช้โปรแกรมประมวลผลคำประยุกต์ ประเภทวิชาพาณิชยกรรม 3/มิ.ย./2556