บทคัดย่อ :
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพสภาพปัญหาของการใช้กระบวนการ PLC ของครูวิทยาลัยการอาชีพสตึก ในการพัฒนานักเรียนนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ ๒๑ ๒) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการใช้กระบวนการ PLC เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาลัยการอาชีพ สตึก ในการฝึกทักษะผู้เรียนให้เป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ ๒๑ และ ๓) เพื่อศึกษากรอบและแนวทางการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาลัยการอาชีพสตึกในการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ ๒๑โดยใช้แบบสอบถามครูผู้สอน จำนวน ๔๙ คน แบบสัมภาษณ์ครูผู้สอน จำนวน ๔๙ คน และการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นผู้ประกอบการโดยใช้กระบวนการ PLC ได้แก่ ตัวแทนครูผู้สอนที่เป็นข้าราชการครู จำนวน ๑๒ คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๔ คน และ ตัวแทนสถานประกอบการ จำนวน ๕ คนวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การสัมภาษณ์เชิงลึก และ การสังเกตการณ์
ผลการวิจัย พบว่า
๑) ด้านสภาพปัญหาของการจัดการใช้กระบวนการ PLC ของครูในการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นผู้ประกอบการ คือ ครูผู้สอนวิทยาลัยการอาชีพสตึก ขาดทักษะในการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นผู้ประกอบการ
๒) แนวทางพัฒนาการใช้กระบวนการ PLC เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูวิทยาลัยการอาชีพสตึก ในการฝึกทักษะผู้เรียนให้เป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ ๒๑ ได้แก่ ๑) การให้ความรู้และการสร้างความเข้าใจของครูในด้านการต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้เป็นธุรกิจ ๒) การบูรณาการของครูผู้สอนในแต่ละกลุ่ม PLC ต้อง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และ ๓) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูในแต่ละกลุ่มเพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
๓) จากการการวิเคราะห์เนื้อหา สัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารสถานศึกษา ตัวแทนครูผู้สอน และสถานประกอบการ สามารถสรุปได้ว่า กรอบและแนวทางการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาลัยการอาชีพสตึกในการพัฒนานักเรียนสู่การเป็นผู้ประกอบการในศตวรรษที่ ๒๑ ได้แก่ การเป็นครูเชิงนวัตกรรม การเป็นครูถ่ายทอด และการเป็นครูเชิงสร้างสรรค์
คำสำคัญ: กระบวนการ PLC, การจัดการเรียนการสอน
|