บทคัดย่อ :
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่ความเข้มแข็ง วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ของการประเมินเพื่อ 1) ประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่ความเข้มแข็ง วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 2) ประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถาศึกษาสู่ความเข้มแข็ง วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 3) ประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่ความเข้มแข็ง วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ 4) เพื่อประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่ความเข้มแข็ง วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์
แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วย กลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่เป็นผู้บริหารจำนวน 2 คน หัวหน้าแผนก จำนวน 8 คน ครูและบุคลากร จำนวน 46 คน กรรมการสถานศึกษา จำนวน 5 คน ผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษา จำนวน 120 คนและนักเรียน นักศึกษา จำนวน 120 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 301 คน โดยใช้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นผู้ให้ข้อมูลการประเมินโครงการ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 5 ชนิด ได้แก่ 1) แบบสอบถาม จำนวน 3 ฉบับ 2) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 3 ฉบับ 3) แบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ 4) แบบประเมินผล จำนวน 1 ฉบับ 5) แบบบันทึก จำนวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินโครงการสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการประเมินด้านบริบทของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่ความเข้มแข็ง วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ในภาพรวมผู้บริหารและหัวหน้าแผนก มีความคิดเห็นว่าบริบทที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
2. ผลการประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่ความเข้มแข็ง วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ในภาพรวมผู้บริหาร หัวหน้าแผนก ครู บุคลากรและกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นว่าปัจจัยเบื้องต้นที่ใช้ ในการดำเนินงานโครงการมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
3. ผลการประเมินด้านกระบวนการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่ความเข้มแข็ง วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า ในภาพรวมผู้บริหาร
หัวหน้าแผนก ครู บุคลากรและกรรมการสถานศึกษา มีความเห็นว่ากระบวนการดำเนินงานโครงการ
มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุดและผ่านเกณฑ์การประเมินทุกรายการ
4. ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สู่ความเข้มแข็ง วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า
4.1 ผู้บริหาร หัวหน้าแผนก ครู บุคลากรและกรรมการสถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการ สูงกว่าก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
4.2 ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพสตึก ปีการศึกษา 2561 โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พบว่า ในภาพรวมผ่านการประเมินระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 อยู่ในระดับยอดเยี่ยม
4.3 ผู้บริหาร หัวหน้าแผนก ครู บุคลากรและกรรมการสถานศึกษา มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่ความเข้มแข็ง วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในระดับมากที่สุด
4.4 ผู้ปกครองนักเรียน นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่ความเข้มแข็ง วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในระดับมากที่สุด
4.5 นักเรียน นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการงานพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่ความเข้มแข็ง วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ในระดับมากที่สุด
4.6 ผลงานดีเด่นที่เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่ความเข้มแข็ง วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ พบว่า สถานศึกษา ผู้บริหารและนักเรียน นักศึกษาได้รับรางวัลระดับชาติหรือรางวัลเทียบเคียง ดังนี้
4.6.1 รางวัลระดับชาติหรือรางวัลเทียบเคียงที่สถานศึกษาได้รับ จำนวน 9 รายการ ดังนี้
1) ผ่านการประเมินเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2561” จากกระทรวงศึกษาธิการ
2) ผ่านการประเมินระดับคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561 อยู่ในระดับยอดเยี่ยม ประจำปีการศึกษา 2561 จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
3) ได้รับการคัดเลือกเป็นสถานศึกษาต้นแบบฝึกประสบการณ์ หลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2561 จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
4) รางวัลขวัญใจชาวอาชีวศึกษา Popular Vote สุดยอดผลงาน อวด-ดี อาชีวะ ผลงาน เสือใบ 2018 มีดสางและตัดใบอ้อย แบบ 2 IN 1 ในโครงการสร้างค่านิยมอาชีวศึกษา ประจำปี 2561 จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
5) ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาคุณธรรมอาชีวศึกษาต้นแบบในการประชุม สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดแสดงผลงานการขับเคลื่อนสถานศึกษาคุณธรรมอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2561
6) รางวัล “สถานศึกษาปลอดภัย” ดีเด่น ประจำปี 2561 ปีที่ 1 จากกระทรวงแรงงาน
7) โล่รางวัลรณรงค์เผยแพร่ความรู้ขับขี่ปลอดภัย ประจำปีการศึกษา 2561 จากบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด
8) รางวัล “สถานศึกษาปลอดภัย” ดีเด่น ประจำปี 2562 ปีที่ 2 ติดต่อกัน จากกระทรวงแรงงาน
9) ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสถานศึกษาคุณธรรมอาชีวศึกษาต้นแบบในการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดแสดงผลงานการขับเคลื่อนสถานศึกษาคุณธรรมอาชีวศึกษา ปีการศึกษา 2562 จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
4.6.2 รางวัลดีเด่นระดับชาติหรือรางวัลเทียบเคียงที่ผู้บริหารได้รับจำนวน 4 รายการ ดังนี้
1) นายธีรกรณ์ พรเสนา ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพสตึก ได้รับรางวัลข้าราชการพลเรือนดีเด่น ปี 2561 จากสำนักงานสำนักปลัดนายกรัฐมนตรี
2) นายธีรกรณ์ พรเสนา ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพสตึก ได้รับรางวัล “Best Synergy Team” ในการจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้จากการศึกษาดูงาน ตามหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 8-22 กันยายน 2562 ณ สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จังหวัดนครปฐม จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
3) นายธีรกรณ์ พรเสนา ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพสตึก ได้รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น เรื่องรายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสู่ความเข้มแข็ง วิทยาลัยการอาชีพสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ ในงานประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรม ระดับชาติ ครั้งที่ 1 การอาชีวศึกษากับการพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันตามนโยบาย Thailand 4.0 ระหว่างวันที่ 8-9 พฤศจิกายน 2562 จากสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5
4) นายธีรกรณ์ พรเสนา ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพสตึก ได้รับรางวัล “ผู้บริหารดีศรีอาชีวศึกษา” ประจำปี พ.ศ. 2563 จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
4.6.3 รางวัลดีเด่นระดับชาติหรือรางวัลเทียบเคียงที่นักเรียน นักศึกษาได้รับ จำนวน 5 รายการ ดังนี้
1) นายกิตติธร มาเย้อ ได้รับรางวัลขวัญใจชาวอาชีวศึกษา Popular Vote สุดยอดผลงาน อวด-ดี อาชีวะ ผลงาน เสือใบ 2018 มีดสางและตัดใบอ้อย แบบ 2 IN 1 ในโครงการสร้างค่านิยมอาชีวศึกษา ประจำปี 2561 จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
2) นายเจษฎาภรณ์ ยางสันเทียะ ได้รับรางวัลขวัญใจชาวอาชีวศึกษา Popular Vote สุดยอดผลงาน อวด-ดี อาชีวะ ผลงาน เสือใบ 2018 มีดสางและตัดใบอ้อยแบบ 2 IN 1 ในโครงการสร้างค่านิยมอาชีวศึกษา ประจำปี 2561 จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
3) นายกิตติธร มาเย้อ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 4 ระดับเหรียญเงิน การแข่งขันทักษะวิชาพื้นฐาน การประกวดสุนทรพจน์ภาษาจีนกลาง งานประชุมวิชาการองค์การนักวิชาชีพในอนาคตแห่งประเทศไทย การแข่งขันทักษะวิชาชีพ และทักษะพื้นฐาน ระดับชาติครั้งที่ 28 ประจำปีการศึกษา 2561 ระหว่างวันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2561 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
4) นายกิตติธร มาเย้อ ได้รับรางวัลชมเชย ในโครงการคัดเลือกนักเรียน นักศึกษาและสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ขนาดใหญ่ ประจำปีการศึกษา 2561 จากกระทรวงศึกษาธิการ
5) นางสาวชนาพร เยรัมย์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 การแข่งขันมวยไทยสมัครเล่นหญิง รุ่นเฟเธอร์เวท น้ำหนักเกิน 54 กก. ไม่เกิน 57 กก. การแข่งขันกีฬาอาชีวะเกมส์ ระดับชาติ ครั้งที่ 14 “ละโว้เกมส์” ระหว่างวันที่ 2-8 กันยายน 2562 ณ จังหวัดลพบุรี จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
|